บทคัดย่อ
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบ
ผศ.สุนิศา ธรรมาวิวัฒน์
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบ
ผศ.สุนิศา ธรรมาวิวัฒน์
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเรื่องการกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบ และศึกษาความพึงพอใจในการเรียนเรื่องการกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1.เพลง 2.แบบทดสอบ 3.แบบวัดความพึงพอใจในการเรียนเรื่องการกระจายคำกริยารูป te โดยใช้เพลงประกอบ
ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนเรื่องการกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนเรื่องการกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10
Abstract
The purposes of this research were to study the learning achievement in ‘te form’ verb conjugation through songs and to study the learning satisfaction in ‘te form’ verb conjugation through songs. The sample group was 18 Japanese students from the Faculty of Humanities and Societies, Thepsatri Rajabhat University who enrolled in the course of Japanese 2 in the second semester of the 2007 academic year. The instruments used in the research were 1) songs 2) a 30-item ‘te form’ verb conjugation completion test ,and 3) a 10-item questionnaire asking for the students’ learning satisfaction in ‘te form’ verb conjugation through songs. The statistics used for data analysis were mean,standard deviation and t-test.
The findings of the research were as follows:
1 . After using songs the students’ learning achievement in ‘te form’ verb conjugation was higher than that before using songs (p< .05) 2.The students were satisfied with learning ‘te form’ verb conjugation through songs at a high level ( =4.10)
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบ
1. บทนำ
ปัจจุบันการเรียนการสอนวิชาภาษาญี่ปุ่นนั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามแม้ว่ากระแสความนิยมจะมีมากก็ตาม แต่ผู้เรียนบางส่วนเมื่อเรียนไปได้ระยะเวลาหนึ่งก็ล้มเลิกการเรียนกลางคัน เนื่องจากรู้สึกว่ายากและปริมาณเนื้อหาวิชาที่มีมาก ดังนั้นผู้เรียนจึงอาจเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายได้ เนื่องจากยิ่งเรียนจำนวนคำศัพท์ก็ทวีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย และหากผู้สอนไม่มีเทคนิควิธีที่จะกระตุ้นและดึงดูดความสนใจแล้วก็จะยิ่งทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกไม่อยากเรียนต่อไป สำหรับการเรียนการสอนวิชาไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นตามหลักสูตรของสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรีนั้น พบว่าเนื้อหาในแต่ละวิชามีปริมาณมาก เช่น รายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 นั้นนักศึกษาจะต้องเรียนรู้บทที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการกระจายรูปคำกริยาถึง 6 บท กล่าวคือ รูป te จำนวน 3 บท รูป nai จำนวน 1 บท รูปพจนานุกรม 1 บท และรูป ta อีก 1 บทตามลำดับ ในบทที่เรียนเรื่องการกระจายกริยารูป te นั้น นักศึกษาจะต้องศึกษาหลักการแบ่งกลุ่มคำกริยาก่อนแล้วจึงศึกษาวิธีการกระจายรูปของกริยากลุ่มต่างๆ เมื่อสามารถกระจายรูปกริยาได้แล้วในบทนั้นๆยังต้องศึกษาการใช้รูปกริยาที่กระจายแล้วในสำนวนต่างๆ เช่น รูป te ในบทที่ 14 นั้นใช้กับสำนวนคำสั่ง ขอร้อง (te kudasai)และสำนวนแสดงสภาพ(te imasu) ดังนั้นการที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถจำวิธีการกระจายคำกริยาได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วนั้น นอกเหนือจากการที่ผู้เรียนจะต้องพยายามจดจำด้วยตัวเองแล้ว สิ่งที่จะช่วยผู้เรียนได้ก็คือเทคนิควิธีการสอนที่น่าสนใจทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน จากการศึกษาเอกสารพบว่ามีผู้สอนภาษาต่างๆจำนวนหนึ่งใช้เพลงประกอบเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน เนื่องจากเพลงและดนตรีนั้นมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้และสื่อสารของมนุษย์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาการนำเพลงมาใช้ประกอบในการเรียนการสอนวิชาภาษาญี่ปุ่นเรื่องการกระจายคำกริยารูปて โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกหรือสร้างทำนองเพลง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำวิธีการกระจายคำกริยาได้ในเวลาอันรวดเร็ว รวมทั้งทำให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานในการเรียน อันจะทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีและสามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.วิธีดำเนินการวิจัย
1.ผู้วิจัยศึกษาสภาพปัญหาการเรียนในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 และศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.ผู้วิจัยออกแบบงานวิจัย สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่
2.1 เพลงประกอบการเรียนรู้เรื่องการกระจายคำกริยารูป て
2.2 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์วัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดเติมคำ จำนวน 30 ข้อ
2.3 แบบวัดความพึงพอใจในการเรียนเรื่องการกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบ
3.ผู้วิจัยชี้แจงรายละเอียดการวิจัยแก่นักศึกษา 4.ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนเรียนกับนักศึกษา เรื่องการกระจายคำกริยารูป て 5.ผู้วิจัยดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ใบงาน ใบกิจกรรมและเพลงประกอบ โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อแต่งเนื้อเพลงและใส่ทำนองเพลงเอง ซึ่งแต่ละกลุ่มได้นำเสนอหน้าชั้นเรียนดังนี้ กลุ่มที่ 1 และ 2 ใช้เนื้อเพลงเดียวกันแต่กลุ่มที่ 1 ใช้ทำนองที่แต่งขึ้นเอง และกลุ่มที่ 2 ใช้ทำนองเพลงลิเก いちりって いちりって みにびんで きいて ぎいで しして いきます いきます いって กลุ่มที่ 3 ใช้ทำนองเพลง หากว่าเรากำลังสบายจงปรบมือพลัน かかります かかります か かって かします かします かして いきます いって あそびます あそんで おわります おわって กลุ่มที่ 4 ใช้ทำนองเพลง ชาลาล่า My heart go ชาลาลา ลาลา ผันรูป 2 เป็น te te te ผันรูป 3 เป็น te ด้วยนะ โว้ โว้ โว้ ตัด masu ออกด้วยนะ いちり เป็นって みにびเป็นんで きいて ぎいで しして 6.เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนทำการทดสอบหลังเรียนอีกครั้งด้วย แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน 7.ทำแบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียน เรื่องการกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบ จำนวน 10 ข้อ 8.นำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียน เรื่อง การกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบ มีรายละเอียดดังตาราง 1 ตาราง1 แสดงผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย( ) คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อน และหลังการเรียนเรื่อง การกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบ การทดสอบ ( n ) คะแนนเต็ม ( ) (S.D.) ค่า t-test P-value ก่อนการเรียน 18 30 19.11 5.70 -3.560 .001* หลังการเรียน 18 30 22.55 5.75 *p<.05 df=17 จากตาราง 1 ค่าเฉลี่ย ( ) คะแนนการทดสอบก่อนและคะแนนหลังการเรียนโดยใช้เพลงประกอบเท่ากับ 19.11 และ 22.55 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)เท่ากับ 5.70 และ 5.75 ตามลำดับ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังจากใช้เพลงประกอบสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3.2 การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนเรื่อง การกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบ มีรายละเอียดดังตาราง 2 ตาราง 2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการแปลผลคะแนนความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียน เรื่อง การกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบ รายการ ( ) (S.D.) แปลผล 1.การเรียนด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบทำให้จำวิธีการกระจาย 4.38 0.69 มาก คำกริยารูป て ได้ดีขึ้น 2.การเรียนด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบทำให้เกิดความรู้สึกมั่นใจ 3.88 0.67 มาก ในการกระจายคำกริยามากขึ้น 3.การเรียนด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบทำให้เกิดความคิด 4.05 0.63 มาก ริเริ่มสร้างสรรค์และกล้าแสดงออก 4.การเรียนด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบทำให้มีอิสระในการเรียนรู้ 4.05 0.80 มาก 5.การเรียนด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบทำให้สนใจและตั้งใจ 4.11 0.83 มาก เรียนมากขึ้น 6.การให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มคิดเพลงประกอบเองทำให้มีความ 4.16 0.70 มาก สามัคคีในกลุ่มเพื่อน 7.ความรู้สึกพึงพอใจกับการมีส่วนร่วมในการคิดทำนองประกอบ 4.11 0.96 มาก เพลงเอง 8.ความรู้สึกพึงพอใจและมีความสุขกับการเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วย 4.27 0.75 มาก วิธีการใช้เพลงประกอบ 9.ความต้องการเรียนการกระจายคำกริยารูปอื่นๆด้วยวิธี 3.66 1.02 มาก การใช้เพลงประกอบ 10.ความต้องการเรียนภาษาญี่ปุ่นเรื่องอื่นๆด้วยวิธีการใช้เพลง 4.33 0.68 มาก ประกอบ คะแนนเฉลี่ย 4.10 0.77 มาก จากตาราง 2 พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการกระจายคำกริยารูป て ด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วพบว่าค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเป็นอันดับแรกคือข้อ 1 การเรียนด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบทำให้นักศึกษาจำวิธีการกระจายคำกริยารูป て ได้ดีขึ้น (4.38) อันดับที่สองคือ ข้อ10 นักศึกษาต้องการเรียนภาษาญี่ปุ่นเรื่องอื่นๆด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบ (4.33) และอันดับที่สามคือข้อ 8 นักศึกษารู้สึกพึงพอใจและมีความสุขกับการเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบ (4.27) 4. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุป อภิปรายผล จากการวิจัยทำให้ทราบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังจากเรียนเรื่องการกระจายคำกริยารูป てโดยใช้เพลงประกอบสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนและนักศึกษารู้สึกพึงพอใจและมีความสุขกับการเรียนโดยใช้เพลงประกอบ ทั้งนี้ด้วยหลักการของจุดประสงค์ในการสอนโดยใช้เพลงประกอบที่กล่าวว่า เพื่อเร้าความสนใจในการเรียน ทำให้บทเรียนน่าสนใจน่าเรียน สร้างบรรยากาศ ในการเรียนให้สนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้บทเรียนที่ยากให้ง่ายขึ้น ช่วยให้จดจำบทเรียนได้ง่าย ทั้งยังเป็นการช่วยย้ำในสิ่งที่เรียนไปแล้ว เช่น คำศัพท์ รูปประโยค การออกเสียง และเพื่อปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษา สอดคล้องกับที่นิตยา สุวรรณศรี (2536,คำนำ) กล่าวว่า “บทเรียนจะมีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น ถ้าหากผู้เรียนมีโอกาสแสดงออกซึ่งความสามารถของตนและมีส่วนร่วมในบทเรียนอย่างสนุกสนาน เกมและเพลงนับเป็นสื่อการเรียนที่มีส่วนช่วยให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ถ้าหากครูผู้สอนสามารถเลือกเกมและเพลงให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนได้” นอกจากนี้ในงานวิจัยต่างๆก็พบว่าเพลงประกอบมีส่วนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามในการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนเรื่องการกระจายคำกริยารูป て โดยใช้เพลงประกอบ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำเป็นอันดับที่สองคือ การเรียนด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบทำให้นักศึกษาเกิดความรู้สึกมั่นใจในการกระจายคำกริยามากขึ้นนั้น อาจมีสาเหตุมาจากขั้นตอนก่อนการกระจายคำกริยาที่ว่า นักศึกษาจะต้องจดจำกลุ่มคำกริยาให้ได้ก่อนแล้วจึงจะกระจายคำกริยาได้ ดังนั้นจึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาที่ยังแบ่งกลุ่มคำกริยาได้ไม่แม่นยำจะมีความรู้สึกไม่มั่นใจที่กระจายคำกริยานั้นๆ ข้อเสนอแนะ 1.การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่งเพลงประกอบการเรียนเองนั้น ผู้สอนควรให้คำปรึกษาแนะนำ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเพลงที่ผู้เรียนแต่งเองนั้นอาจไม่ครอบคลุมเนื้อหาตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 2.ควรมีการศึกษาวิจัยการนำเพลงไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาญี่ปุ่นอื่นๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำและเข้าใจในเนื้อหาดีขึ้น บรรณานุกรม กาญจนา นุ่มพันธ์. (2537). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องราชาธิราช โดยใช้เพลงไทย เป็นสื่อกับการสอนแบบปกติ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ครูรุ่นใหม่ อริสรา ธนาปกิจ สอนภาษาอังกฤษผ่านบทเพลง.(2546,มกราคม 14).แนวหน้า,หน้า 13 เชื่อฝึกร้องเพลงจีนสกัด“อัลไซเมอร์”โรงเรียนสอนภาษาจีนเปิดคอร์สรองรับ. (2550,กุมภาพันธ์2) ผู้จัดการรายสัปดาห์.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ ViewNews.aspx?NewsID=9500000013387 นิตยา สุวรรณศรี.(2536).เพลงและเกมประกอบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ.กรุงเทพฯ:ต้นอ้อ. มณฑลี ไชยศิริ. (2546). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้เพลงและไม่ใช้เพลงประกอบการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. ยุพิน บุญพันธ์. (2535). ผลของการใช้เพลงประกอบการสอนคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เรืองศักดิ์ อัมไพพันธ์.(2542).Teaching with songs.กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช. ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์. (2537).ทักษะและเทคนิคการสอน.ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น